คุณสมบัติสำคัญของคลังข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากฐานข้อมูลทั่วไป
ประกอบด้วย
1. Subject Oriented
2. Integrated
3. Time-Variant
4. Non-Volatile
1. Subject Oriented
คลังข้อมูลจะต้องถูกสร้างด้วยหัวข้อหลักทางธุรกิจที่องค์กรนั้นสนใจ
ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของธุรกิจขายสินค้า เช่น ลูกค้า สินค้า ยอดขาย
อินวอยซ์ลูกค้า การควบคุมสต็อก และการขายสินค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนในความต้องการจัดเก็บเพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ
การวิเคราะห์ และดาต้าไมนิง (Data Mining)
ฐานข้อมูลระดับปฏิบัติการจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบงานแต่ละอย่าง
เช่นการขออนุมัติกู้เงิน การฝากเงิน สินเชื่อ
ซึ่งแตกต่างกับระบบคลังข้อมูลที่มีกรจัดกลุ่มตามหัวข้อหลักที่องค์กรสนใจ เช่น
ลูกค้า ผู้ขาย ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2. Integrated
เป็นไปได้ว่าข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจนั้น
สามารถได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในและแหล่งข้อมูลภายนอก นั่นย่อมหมายถึงความแตกต่างในระบบ
รวมทั้งอาจมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกัน หรือมาจากความแตกต่างของแพลตฟอร์ม
ดังนั้นระบบ Integrated จะต้องมีความสามารถในการรวมข้อมูลเหล่านั้นให้สอดคล้องหรือผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวได้
ฐานข้อมูลระดับปฏิบัติการ
ต่างก็มีการออกแบบฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่นการอ้างอิงในรูปแบบวันที่ที่แตกต่างกัน
ซึ่งอาจจัดอยู่ในรูปแบบของ yymmdd, mmddyy หรือ mmddyyyy ดังนั้นระบบ Integrated จะต้องสามารถรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้ได้รูปแบบวันที่รูปแบบเดียวกัน
รวมถึงหน่วยวัดของผลิตภัณฑ์ที่อาจจะใช้หน่วยอ้างอิงที่แตกต่างกัน เช่น เซนติเมตร
นิ้ว หลา ดังนั้นระบบ Integrated จะต้องสามารถทำการแปลงหน่วยวัดเหล่านี้ให้เป็นหน่วยเดียวกันได้
3. Time-Variant
ข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการมุ่งเน้นความเป็นปัจจุบัน
และจะต้องปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อมูลในคลังข้อมูล
จะเป็นข้อมูลที่มีช่วงอายุในระยะเวลาใด เวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นตั้งแต่ 5 ถึง 10 ปี
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเป็นหลักด้วย
การนำข้อมูลย้อนหลังที่เก็บรวบรวมไว้
ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหาแนวโน้มและใช้พยากรณ์ทางธุรกิจ
4. Non-Volatile
เป็นที่เข้าใจแล้วว่าข้อมูลในคลังข้อมูลนั้นมีความแตกต่างจากฐานข้อมูลที่ใช้งานประจำวัน
ฐานข้อมูลประจำวัน มักมีการเพิ่ม ลบ
หรือปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่คลังข้อมูลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเพื่อนำมาวิเคราะห์เท่านั้น
ในการรับปรุงข้อมูลในคลังข้อมูลนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะรูปแบบการเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล
มุ่งเน้นประสิทธิภาพด้านการเรียกใช้ข้อมูลที่มีความรวดเร็วสูงเป็นสำคัญ
มากกว่าพิจารณาความซ้ำซ้อนของข้อมูล อย่างไรก็ตาม
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือปรับปรุง
จะต้องเป็นวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อบานข้อมูลในคลัง เช่น การบันทึกช่วยจำ
หรือการสร้างตัวแปรใหม่ เป็นต้น